ท่องเที่ยวปี 64 ‘วัคซีน’ เป็นคำตอบระยะสั้น อยู่รอดรัฐต้องอุ้ม

  • 0 replies
  • 2169 views
ากการชะงักงันของการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่เบื้องต้นจะได้รับผลกระทบร่วม 2 เดือน ขณะที่แผนทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น ก็ต้องสะดุดไปไม่ต่างกัน ธุรกิจท่องเที่ยวในปีนี้ จะอยู่กันอย่างไรต่อไป 2 บิ๊กสมาคมท่องเที่ยวเปิดใจกับ “ฐานเศรษฐกิจ”

 
วัคซีนเป็นคำตอบ

 
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า แนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวในปี64 ณ วันนี้ “วัคซีน” เป็นคำตอบโควิด-19 เป็นเหตุสุดวิสัย คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะจบเมื่อไหร่ และการแพร่ระบาดจะยังคงลุกลามไปเรื่อย หรือจะรุนแรงขึ้นหรือไม่ อย่างในไทยหรือในต่างประเทศ พอมีเกิดการระบาดระลอกใหม่ ก็ทำให้คนหวาดกลัวการเดินทางท่องเที่ยว

 
ดังนั้นวัคซีน จึงเป็นตัวแปรสำคัญ ว่า คนไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนได้ทั่วถึงเมื่อไหร่ ซึ่งคงต้องใช้เวลาพอสมควร ส่วนในต่างประเทศ เมื่อฉีดแล้ว จะกล้าเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยหรือเปล่า ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่คิดว่าต้องมารอจนถึงมีวัคซีน เพราะคิดว่าไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้าไทยเรามีระบบติดตามตัว ไทยก็จะทยอยปลดล็อกให้ต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยได้เพิ่มขึ้น

แต่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ก็ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในปี64 จะยังคงอยู่ในสภาวะทรงตัว ยังไม่เห็นภาพของการฟื้นตัว รัฐบาลก็มีแนวโน้มชลอการเปิดรับนักท่องเที่ยวออกไป โดยรอดูหลังไตรมาส1ปี64

 
การขับเคลื่อนการเดินทางเที่ยวในประเทศก็ยังคงหัวใจสำคัญที่รัฐต้องออกมาผลักดันเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีเรื่องภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชลอตัว ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ก็ทำให้เกิดการยกเลิกห้องพักไปเป็นจำนวนมาก

คงต้องรอให้รัฐคุมการแพร่ระบาดได้ก่อน และ จุดโฟกัสคงต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่มข้าราชการ มากกว่าเอกชน ซึ่งการที่รัฐบาลประกาศวันหยุดราชการเพิ่ม ทั้งการเพิ่มวันหยุดราชการ และเพิ่มวันหยุดราชการประจำภูมิภาค ให้ข้าราชการเดินทางไปเที่ยว เพราะที่ผ่านมาในทุกวันหยุด จะเกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกเทศกาล

 
สำหรับภาคธุรกิจการปรับตัวในปี 64 ก็จะมีทั้งธุรกิจที่ปิดให้บริการไปก่อน รอการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว  โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวระดับเอสเอ็มอี เพราะทนมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คงไม่สามารถประคองธุรกิจได้ต่อ การจะไปกู้เงินมาเสริมสภาพคล่อง ธุรกิจท่องเที่ยวก็ไม่มีใครอยากกู้ เพราะจะเป็นหนี้เพิ่มแน่นอน เมื่อรายได้ไม่เข้ามาเหมือนก่อน

 
ส่วนธุรกิจที่ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย เช่นการยืดหยุ่นการรับจอง การทำตลาดผ่านโซเชี่ยลที่ตอบโจทย์คนไทย การรักษาฐานลูกค้าเดิม เพื่อบริหารกระแสเงินสด และการดาวน์ไซซ์องค์กรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 
เพราะในปี 64 ลูกค้าก็ยังน้อย มีดีมานด์ของตลาดไม่ถึง50% ธุรกิจต้องดูว่าจะบริหารองค์กรอย่างไร ให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งต้องดูจุดแข็งขององค์กร ว่ามีดีอะไร เช่น อาหาร เพื่อสร้างรายได้จากจุดแข็งที่มี เป็นต้น

 
โควิดระลอกใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการประเมินว่าจากเดิมคาดว่าธุรกิจจะกระทบต่อเนื่องไปถึงกลางปี2564 แต่สถานการณ์ขณะนี้น่าจะกระทบไปถึงสิ้นปี 2564 ทำให้โรงแรมที่กลับมาทยอยเปิดแล้ว ก็อาจจะต้องกลับมาปิดให้บริการอีกครั้ง

 
ขณะเดียวกันทีเอชเอ ก็ยังอยากเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจโรงแรมยังสามารถพอประคองตัวอยู่ได้ เพื่อรอให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว โดยเราได้เสนอ 4 มาตรการเยียวยาเพิ่มเติม ทั้งชำระหนี้ ส่วนหนี้คงเหลือเดิมขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นคงที่ 2% วอนสนับสนุนซอฟต์โลนไม่เกินรายละ 60 ล้านบาทต่อโรงแรมเพิ่มสภาพคล่อง ขอสนับสนุนการจ่ายเงินเดือน 50% แบบCo-payment วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท รักษาการจ้างแรงงาน 2 แสนคน

 
ระยะสั้นอยู่รอดรัฐต้องอุดหนุน

 
นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ แม้รัฐบาลจะไม่ได้ประกาศล็อกดาวน์ แต่จากมาตรการต่างๆก็ไม่เอื้อให้คนเดินทางท่องเที่ยว เพราะคงไม่มีใครอยากไปเที่ยวแล้วต้องถูกกักตัว 14 วัน ซึ่งผลกระทบจะยาวนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาลว่าจะเร็วหรือช้าแค่ไหน

 
ธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส1และ2 ปีนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก หนทางเดียวที่จะอยู่รอดได้คือต้องได้รับการอุดหนุนและเยียวยาจากรัฐบาล ให้ธุรกิจท่องเที่ยวพอจะเหลืออยู่รอดได้บ้าง ไม่ใช่ตายไปทั้งหมด เพราะมั่นใจว่าเมื่อทั่วโลกคุมการระบาดได้ ยังไงนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะกลับมาเที่ยวไทย

อ่านต่อที่ msn.com