- หน้ากระดานพูดคุย และประกาศฟรี โปรโมทเว็บ ใช้ได้ // ปรับลิ้งออกให้เป็น Nofollow // ป้องกันสแปมคำ พนัน โป๊ เปลือย 18+ เป็นอุปกรณ์กีฬาชนิดต่าง ๆ อยากใส่อยากสแปม เชิญ ฮาๆ
ปรับให้ 1 ip โพสต์ตั้งกระทู้ได้ 30 นาทีต่อ 1 โพสต์ (เพื่อป้องกัน Spam) ขนาดตั้งแบบนี้ยังมีบางคน autopost มาชั่วโมงละโพสต์ เห็นใจคนดูแลด้วยนะ
โปรโมทเว็บ Index ทุกหน้าไปที่ swenth.com
กระบี่วันนี้ รายงานข่าวล่าสุดประจำชั่วโมง
รายงานข่าวประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2023 : 4:14 PM by VWANDER Services
ประเทศไทยมีทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติ และแหล่งน้ำมันดิบกระจายอยู่หลายแห่ง แต่อัตราผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ โดยน้ำมันดิบผลิตได้เพียง 10-15% ก๊าซธรรมชาติผลิตได้ 50-60 % จากความต้องการใช้ทั้งประเทศ ทำให้ต้องอาศัยการนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
หลังจากได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือที่เรียกว่า ‘ต้นน้ำ’ (Upstream) แล้ว จะมีขั้นตอนการดำเนินการหลักๆ 4 ขั้นตอน เริ่มจากการสำรวจ (Exploration) เพื่อวิเคราะห์โอกาสค้นพบแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม และเจาะหลุมสำรวจเพื่อพิสูจน์ว่า มีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือไม่
ต้นทุนในการเจาะหลุมสำรวจมีตั้งแต่ร้อยล้านบาทจนถึงหลักพันล้านบาทต่อหลุม ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่และสภาพทางธรณีวิทยา โดยกระบวนการสำรวจมักจะใช้เวลารวมกันประมาณ 5 ปี กรณีถ้าไม่พบปิโตรเลียมก็จะต้องคืนพื้นที่ให้กับรัฐ
ต่อมาเป็นการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (Field Development) เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หากพบว่าไม่คุ้มค่าก็จะคืนแปลงสำรวจให้รัฐ แต่ถ้ามีความคุ้มค่าก็จะได้รับการอนุมัติงบลงทุนดำเนินการก่อสร้าง สร้างแท่นกระบวนการผลิต แท่นหลุมผลิต และอุปกรณ์การผลิตต่างๆ รวมถึงการเจาะหลุมผลิต
ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งนี้จะใช้เวลาอีก 3 – 5 ปี และใช้เงินลงทุนสูงมากอาจสูงถึงหลักหมื่นล้านบาทขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่ง
เมื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต (Production) โดยปกติจะใช้เวลา 20-30 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับสัมปทานหรือสัญญา โดยผู้ผลิตจะต้องใช้เงินลงทุนต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ์เพื่อรักษากำลังการผลิต
เนื่องจากหลุมผลิตที่ผลิตจากกระเปาะเล็กๆ เหล่านี้จะมีระยะเวลาผลิตสั้น ต้องมีการลงทุนเจาะหลุมผลิตเพื่อหาปิโตรเลียมในกระเปาะอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
ทำให้แหล่งในประเทศไทยมีต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต่อหน่วยสูงเมื่อเทียบกับพม่าและมาเลเซียที่มีลักษณะเป็นกระเปาะใหญ่
ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรื้อถอน (Abandonment) หลังจากที่ผลิตปิโตรเลียมจนหมดอายุสัมปทาน/สัญญา หรือกำลังการผลิตลดลงจนถึงจุดไม่คุ้มทุนแล้ว จะต้องทำการรื้อถอนแท่นและอุปกรณ์การผลิตทั้งหมด และจะต้องปิดหลุมทุกหลุม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-5 ปี
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า น้ำมันดิบถึงจะผลิตได้ในประเทศ แต่ผู้รับสัมปทานสำรวจและผลิตต้องแบกรับความเสี่ยงเต็มๆ ทั้งโอกาสการไม่พบปิโตรเลียม จนถึงผลผลิตต่ำกว่าคาดการณ์ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ กรณีรัฐจะลงทุนสำรวจเองก็จะเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปพบกับความเสี่ยง ซึ่งหลายคนคงไม่ยอมอย่างแน่นอน
7,440 กระทู้ ใน 1,003 หัวข้อ โดย 179 สมาชิก. สมาชิกล่าสุด: aircondmotor
กระทู้ล่าสุด: "Re: ฿จำหน่ายโมเดลการ์ตูน..." ( วันนี้ เวลา 03:47:06 PM )
ดูกระทู้ล่าสุดบนฟอรั่ม
8 บุคคลทั่วไป, 1 สมาชิก
ผู้ใช้เมื่อ 15 นาทีที่ผ่านมา:
boonsri99
วันนี้ออนไลน์มากที่สุด: 48. ออนไลน์มากที่สุด: 534 (มกราคม 07, 2023, 08:05:56 AM)